Work & Travel USA
username:
password:
Contact US

จันทร์ - ศุกร์
9.00 - 18.00 น

เสาร์
9.00 - 16.30 น

ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS 17,350 Baht
USA 4,620 Baht
UK 10,348 Baht
NZ 5,000 Baht
Canada 4,000 Baht
Related Link
ทุนการศึกษา [OCSC]
ทุนการศึกษา [NSTDA]
ตั๋วนักเรียนราคาประหยัด
ร้านอาหารไทยในต่างแดน
หาที่พักต่างแดน
EXCHANGE RATE
TOFEL
IELTS
GMAT
GRE
สมาชิก
Welcome, Anonymous
Nickname
Password
(Register)
Membership:
Latest: Barnypok
New Today: 0
New Yesterday: 0
Overall: 24955

People Online:
Visitors:
Members:
Total: 0
Counter
Page Counter: 7787
Since: 10 Apr 2005
Exchange Rate




  ข้อมูลทั่วไปของประเทศนิวซีแลนด์
  สภาพภูมิประเทศ
  สภาพภูมิอากาศ
  เวลา
  การใช้ชีวิต
  ระบบการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์



ข้อมูลทั่วไปของประเทศนิวซีแลนด์ ToP
สิ่งที่น่าสนใจ
สถานฑูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทยตั้งอยู่ที่
M Thai Tower
ชั้น 15 All Seasons Place ถนนวิทยุ
โทร : 0-2654-3444
โทรสาร : -654-3445


ประเทศนิวซีแลนด์มีประชากร 3.9 ล้านคน 74% สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป นิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ และอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนอยู่ดีกินดี รัฐบาลให้การดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ เป็นอย่างดี อาชญากรรมจึงมีน้อย นักเรียนไทยที่เคยไปศึกษาที่นิวซีแลนด์ มักจะพูดว่านิวซีแลนด์เป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ปลอดภัยมาก

ค่าเงินของประเทศนิวซีแลนด์ โดยประมาณ 1 NZD = 25 บาท
สภาพภูมิประเทศ ToP
ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร โอบล้อมด้วยมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออก และทะเลทัสมันด้านตะวันตก ลักษณะประเทศเป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วย เกาะใหญ่ 2 เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง เกาะที่เรารู้จักกันดีคือ เกาะเหนือ (North Island) เกาะใต้ (South Island) และเกาะตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะใต้ชื่อ เกาะสจ๊วต (Stewart Island) ถ้ามองดูแผนที่จะเห็นว่า ลักษณะเกาะมีรูปร่างยาว ประกอบไปด้วยชายหาดมากมาย และทะเลเล็กๆ ที่เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) บางส่วนเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ใช้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีบ่อน้ำร้อน ภูเขาไฟที่ดับแล้วและยังไม่ดับ บ่อโคลนเดือด บริเวณเทือกเขาสูง มีหิมะขาวปกคลุม พื้นที่ของประเทศนิวซีแลนด์โดยรวมประมาณ 268,105 ตารางกิโลเมตร มีเมืองหลวงชื่อ เวลลิงตัน



เมืองสำคัญ
- เกาะเหนือ
  1. โอ๊คแลนด์ (Auckland)
เป็นเมืองใหญ่และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน เมืองนี้เป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เป็นเมืองท่าเรือที่สำคัญ และเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ
  2. แฮมิลตัน (Hamilton)
เป็นเมืองที่แม่น้ำไวกาโต้ ซึ่งเป็นแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ไหลผ่าน และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยไวกาโต้ (The University of Waikato)
  3. เวลลิงตัน (Wellington)
เป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์ เป็นเมืองท่าที่เชื่อมระหว่างเกาะเหนือและเกาะใต้ เมืองหลวงนี้มีสมญานามว่า Windy City เพราะมีกระแสลมแรงจากช่องแคบพัดผ่าน

- เกาะใต้
  1. ไคร้สท์เชิร์ช (Christchurch)
เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะใต้ เป็นเมืองอุทยานแบบอังกฤษ มีสวนดอกไม้สวยงาม มีประชากรอาศัยอยู่ราว 3 แสนคน
  2. ดะนีดิน (Dunedin) หรือสก๊อตแลนด์แห่งนิวซีแลนด์
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะใต้ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ที่เก่าแก่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ มหาวิทยาลัยโอตาโก้ (University of Otago)
สภาพภูมิอากาศ ToP
โดยทั่วไปอากาศของนิวซีแลนด์จะสบายๆ ค่อนข้างเย็น แต่ไม่ถึงกับเย็นจัดจนหิมะตก เกาะเหนือจะมีอากาศอบอุ่นกว่าเกาะใต้ เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ เดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ฤดูกาลของนิวซีแลนด์แบ่งเป็น 4 ฤดู
ฤดู ช่วงเดือน เกาะเหนือ เกาะใต้ เครื่องนุ่งห่ม
ฤดูร้อน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ 16 - 25 c 13 - 22 c ปกติ
ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม - พฤษภาคม 13 - 19 c 7 - 17 c แจ็กเก็ต
ฤดูหนาว มิถุนายน - สิงหาคม 8 - 13 c 2 - 10 c โค้ทหนา
ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน - พฤศจิกายน 11 - 17 c 7 - 17 c โค้ทบาง
เวลา ToP
เวลาของนิวซีแลนด์เร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง (ยกเว้น ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม เขาจะหมุนเข็มนาฬิกาให้เร็วขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เป็น 6 ชั่วโมง)
การใช้ชีวิต ToP
เงินตรา
นิวซีแลนด์ดอลลาร์ (NZ$) คือ สกุลเงินของประเทศนิวซีแลนด์ เงิน 1 ดอลลาร์มีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ โดยมีธนบัตรมูลค่า 100, 20, 10, 5, 2 และ 1 ดอลลาร์ และเหรียญตรามูลค่า 50, 20, 10 และ 5 เซนต์ ทั้งนี้ ไม่มีการจำกัดจำนวนเงินตราต่างประเทศ เข้าประเทศนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตามหากนำเงินสดเข้ามามีมูลค่าเกิน 10,000 NZ$ ต้องกรอกเอกสาร " Border Cash Report " ด้วย ธนาคารในนิวซีแลนด์นั้น เปิดทำการวันจันทร์ถึงวันศุกร์เวลา 9.00 - 16.00 น. สำหรับการแลกเงินตราต่างประเทศนั้น นอกจากจะแลกเงินได้ตามธนาคารแล้ว ยังสามารถแลกเงินได้ตามเคาน์เตอร์โรงแรมต่างๆ รวมถึงสามารถแลกเงินได้ที่จุดรับแลกเงิน ที่สนามบินนานาชาติด้วย

ไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศนิวซีแลนด์คือ 230 Volt โดยปลั๊กที่ใช้เป็นปลั๊กสามขา หากต้องการนำเครื่องไฟฟ้าจากประเทศไทยติดตัวไป จะต้องหาซื้อเครื่อง Adapter เพื่อแปลงไฟด้วย โดยสามารถหาได้จากร้านค้าทั่วไป

ประปา
น้ำประปาสะอาดสามารถใช้สำหรับดื่มได้

ศาสนา
ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ในหลายนิกาย เช่น Anglican, Presbyterian, Roman Catholic, Methodist และอื่นๆ
การทำงานของนักศึกษาต่างชาติ
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในระดับโพลีเทคนิคและมหาวิทยาลัยแบบเต็มเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทำงานพิเศษได้ โดยทำได้ไม่เกิน 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ควรมีจดหมายรับรองจากสถาบันการศึกษาด้วย โดยสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่ New Zealand Immigration Service ส่วนนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ และนักเรียนระดับมัธยม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน
ระบบการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ToP
ระบบการศึกษา
นิวซีแลนด์เป็นแหล่งการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งของโลก มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน กระตุ้นให้นักศึกษารู้จักคิด มีเหตุมีผล รับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ชาวนิวซีแลนด์ยินดีต้อนรับนักศึกษาจากต่างชาติ และเปิดรับนักเรียนนักศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา โพลีเทคนิค วิทยาลัยครู มหาวิทยาลัย และสถาบันสอนภาษาเอกชน มีหลักสูตรสาขาวิชาให้เลือกมากมาย
สถาบันสอนภาษา
มีสถาบันสอนภาษาอังกฤษทั้งของเอกชน และขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยหรือโพลีเทคนิค เปิดสอนหลักสูตรทั้งระยะสั้น (ต่ำกว่า 12 สัปดาห์) และระยะยาวคือ 1 ปี ใช้วิธีการสอนที่ทันสมัย เปิดรับนักศึกษาใหม่ตลอดทั้งปี
ระดับมัธยมศึกษา
มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในนิวซีแลนด์ประมาณ 400 แห่ง ทั้งโรงเรียนของรัฐบาล กึ่งรัฐบาลและเอกชน โรงเรียนแต่ละแห่ง สามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเอง แต่ต้องได้รับการรับรองคุณภาพ จาก NZQA (Newzealand Qualification Authority) หลักสูตร และมาตรฐานการศึกษาจึงคล้ายคลึงกัน และมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เตรียมความพร้อมให้นักเรียน เพื่อสอบให้ได้ประกาศนียบัตร ระดับมัธยมศึกษาที่รัฐบาลกำหนด นักเรียนทุกคนเมื่อจบระดับฟอร์ม 5 (ม.5) จะต้องสอบไล่ข้อสอบกลางของประเทศ เพื่อรับประกาศนียบัตร เรียกว่า School Certificate และเมื่อเรียนจบฟอร์ม 6 (ม.6) ต้องสอบข้อสอบที่โรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเพื่อรับ Sixth Form Certificate ดังนั้นการเลือกโรงเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่จะรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนในฟอร์ม 3 (ม.3 อายุ 13 ปี) บางโรงเรียนรับตั้งแต่ฟอร์ม 1 (ม.1) นักเรียนระดับฟอร์ม 3 - 4 ถือเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนจะเรียนวิชาบังคับพื้นฐาน อาทิ ภาษาอังกฤษ สังคม- ศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา พลศึกษา ดนตรี ศิลปะ ส่วนวิชาเลือกอาจจะมีคหกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ นักเรียนระดับฟอร์ม 5 - 6 ถือเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะมีวิชาเลือกตามความถนัดมากขึ้น และมีวิชาบังคับน้อยลงเมื่อจบฟอร์ม 5 นักเรียนต้องสอบ School Certificate Examination ซึ่งจัดสอบโดยกระทรวงศึกษาธิการ และสอบ Sixth Form Certificate ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเมื่อจบฟอร์ม 6 นักเรียนระดับฟอร์ม 7 เป็นนักเรียนปีสุดท้ายในระดับโรงเรียนมัธยม นักเรียนจะต้องสอบ Bursary and Scholarship Examinations เพื่อใช้ผลคะแนนสอบในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
สถาบันโพลีเทคนิค (Polytechnic)
คือสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเปิด ให้การศึกษาอบรมสายวิชาชีพ เน้นด้านอุตสาหกรรมธุรกิจ และการพาณิชย์ มีสาขาวิชาให้เลือกมากถึง 150 สาขามีหลักสูตร ตั้งแต่ประกาศนียบัตร อนุปริญญา จนถึงปริญญาตรี และสามารถ โอนหน่วยกิตเพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยได้ โพลีเทคนิคทั้งหมดมี 25 แห่งนอกจากนี้โพลีเทคนิคยังมีการ อบรมหลักสูตรสั้นๆ และหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษอีกด้วย
คุณสมบัติของผู้สมัครจากประเทศไทย
- อายุ 18 ปีขึ้นไป
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
- GPA 2-2.5
- สอบ TOEFL ได้คะแนนอย่างต่ำ 500 หรือ IELTS 5.0
ภาคการศึกษา
เปิดสอนเดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม โดยมีวันหยุดในเดือนพฤษภาคม และสิงหาคม ส่วนใหญ่เปิดรับนักศึกษาใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ และ กรกฎาคม
มหาวิทยาลัย (University)
มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์มีด้วยกันทั้งหมด 8 มหาวิทยาลัย และเป็นของรัฐบาลทั้งหมด มหาวิทยาลัยเหล่านี้กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ โดยอยู่ที่
เกาะเหนือ 5 มหาวิทยาลัย อันได้แก่
  University of Auckland อยู่ที่เมือง Auckland
  Massey University อยู่ที่เมือง Palmerston North
  Victoria University of Wellington อยู่ที่เมือง Wellington
  University of Waikato อยู่ที่เมือง Hamilton Auckland
  University of Technology อยู่ที่เมือง Auckland เดิมชื่อ AIT (Auckland Institute of Technology) ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยในปี 2000
เกาะใต้มี 3 มหาวิทยาลัย คือ
  University of Canterbury อยู่ที่เมือง Christchurch
  Lincoln University อยู่ที่เมือง Christchurch
  University of Otago อยู่ที่เมือง Dunedin
มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก บางมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรประกาศนียบัตร และอนุปริญญา ด้วย

คุณสมบัติของผู้สมัครจากประเทศไทย
  ระดับปริญญาตรี
นักศึกษาจบชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากทางมหาวิทยาลัยของประเทศไทย สามารถสมัครเข้าเรียน ต่อในระดับปริญญาตรี (แต่ถ้านักศึกษามีวุฒิจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 จะต้องเข้าเรียนหลักสูตร Foundation Studies Pro- gramme ก่อน หรือมิฉะนั้นก็เข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษา ใน Form 7 หรือเลือกเรียนหลักสูตรอนุปริญญาในวิทยาลัย อาชีวศึกษา 2 ปี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 แล้วจึงสมัครเรียนต่อ ปริญญาตรี) คะแนน TOEFL อย่างต่ำ 550 หรือ IELTS 5.5
  ระดับปริญญาโท/เอก
  - สำเร็จปริญญาตรี/โท
  - คะแนน TOEFL 600 หรือ IELTS 6.0-6.5
  - บางสาขาวิชาจะต้องมีประสบการณ์การทำงานด้วย
  - เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 - 3 .00

ค่าใช่จ่ายในการศึกษา
สถานศึกษา ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา
ค่าเล่าเรียนอยู่ระหว่าง 7,500 - 15,000 เหรียญนิวซีแลนด์ ต่อปี
วิทยาลัยโพลีเทคนิค ค่าเล่าเรียนอยู่ระหว่าง 9,000 - 16,000 เหรียญนิวซีแลนด์ ต่อปี
ปริญญาตรี ค่าเล่าเรียนอยู่ระหว่าง 10,000 - 18,500 เหรียญนิวซีแลนด์ ต่อปี
ปริญญาโท/เอก ค่าเล่าเรียนอยู่ระหว่าง 11,000 - 13,000 เหรียญนิวซีแลนด์ ต่อปี
สถาบันสอนภาษาอังกฤษ ค่าเรียนประมาณเดือนละ 1,200 - 1,400 เหรียญนิวซีแลนด์

เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัครเรียน
  ระดับมัธยมศึกษา
ใบรับรองผลการเรียน หรือใบรายงานผลการศึกษาชั้นสูงสุด ที่มีจดหมายรับรอง จากสถาบันที่เรียนอยู่หรือที่เรียนจบ
  ระดับอุดมศึกษา
- ใบรับรองผลการเรียน (Transcript)
- ใบรับรองผลการสอบ TOEFL หรือ IELTS
- จดหมายรับรองจากสถาบันที่ศึกษาอยู่หรือที่จบมาหรือ จากสถานที่ที่ทำงานอยู่
  ระดับปริญญาเอก
- ใบรับรองผลการเรียน (Transcript)
- คำแปลสูติบัตรหรือเทียบเท่า (บางมหาวิทยาลัย)
- จดหมายแนะนำจากอาจารย์
- จดหมายเรียงความประวัติส่วนตัวและเหตุผลที่ต้องการ ศึกษา
- ใบรับรองผลการสอบ TOEFL หรือ IELTS
  เรียนภาษาอังกฤษ
ไม่จำเป็นต้องแสดงวุฒิการศึกษา

การทำงานระหว่างเรียน
นักศึกษาในระดับโพลีเทคนิค และมหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียน เรียนเต็มเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถขอทำงานได้ แต่ควรเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน และต้องมีจดหมายรับรองจากมหาวิทยาลัยด้วย
การเทียบวุฒิ
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความประสงค์ต้องการกลับมาเทียบวุฒิ กับกระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย ต้องมีผลการเรียนนิวซีแลนด์ฟอร์ม 4 ฟอร์ม 5 และฟอร์ม 6 หรือเทียบเท่า และต้องสอบผ่านครบทั้ง 5 วิชา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการนิวซีแลนด์กำหนดไว้ และจะต้องมีใบประกาศนียบัตรของ NZQA มาแสดง โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. จบการศึกษาชั้น Form 6 โดยมีใบ Sixth Form Certificate แสดงรายวิชารวม 5 วิชา ซึ่ง 5 วิชาดังกล่าวอาจมาจากหลาย ๆ ปี การศึกษาก็ได้ เช่น ปี 1997 ได้รับใบ Sixth Form Certificate มีรายวิชา 3 วิชา และในปี 1998 ได้รับใบ Sixth Form Certificate มีรายวิชา 2 วิชา สามารถใช้ทั้ง 2 ใบ รวมกันเพื่อเทียบความรู้ได้
2. จบการศึกษาในระดับ Level 2 ขึ้นไป ของ Unit Standard ตามระบบใหม่โดยมีใบ Record of Learning แสดงจำนวนหน่วยกิต Credit และจุดประสงค์ Unit Standard แสดงรายวิชารวม 5 วิชา แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต และเช่นเดียวกัน 5 วิชาดังกล่าวสามารถมาจากหลายปีการศึกษาได้
3. จบการศึกษาจากทั้ง 2 ระบบในข้อที่ 1 และ 2 รวมกันได้ 5 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน วิชาที่มาจาก Unit Standard ต้องมีหน่วยกิต 3 หน่วยกิตขึ้นไปคิดเป็นหนึ่งวิชา 4. จบการศึกษาชั้น Form 6 โดยมีใบ Sixth Form Certificate รวมกันการจบการศึกษาชั้น Form 7 โดยมีผลการสอบ University Entrance & Business และ Higher School Certificate แสดงรายวิชารวมกัน 5 วิชาไม่ซ้ำกัน
ทุนการศึกษา
เกือบทุกมหาวิทยาลัยจะมีทุนค่าเล่าเรียน หรือค่าวิจัยให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น นักศึกษาสามารถขอทุนได้หลังจากไปเรียนแล้ว และมีผลการเรียนที่ดีตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่
ค่าครองชีพ
ค่าครองชีพซึ่งรวมถึง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายส่วนตัว อยู่ในช่วงประมาณ NZ$ 9,500-NZ$ 10,000 ต่อปี

การประมาณค่าใช้จ่าย
ประมาณเดือนละ NZ$ 250 - 400 ตัวอย่างราคาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น
ค่ารถ NZ$ 1.00 หรือมากกว่า
ค่าอาหาร NZ$ 5.00-35.00
ค่าบัตรภาพยนตร์ NZ$ 6.00-10.00
ค่าแสตมป์ NZ$ 1.00-1.80
ค่าตัดผม (ผู้หญิง) NZ$ 20.00
ค่าตัดผม (ผู้ชาย) NZ$ 15.00
น้ำอัดลม 1 กระป๋อง NZ$ 1.00
น้ำผลไม้ NZ$ 1.30

ระดับค่าเล่าเรียน (NZ$)
สถาบันสอนภาษาอังกฤษ NZ$ 320 - NZ$ 350 ต่อสัปดาห์
โรงเรียนมัธยมศึกษา NZ$ 7,500 - NZ$ 25,000 ต่อปี
วิทยาลัยโพลีเทคนิค NZ$ 9,000 - NZ$ 16,000 ต่อปี
ปริญญาตรี NZ$ 10,000 - NZ$ 18,500 ต่อปี
ปริญญาโท/เอก NZ$ 11,000 - NZ$ 13,000 ต่อปี

ที่พักอาศัย
ที่พักสำหรับนักเรียน นักศึกษาต่างชาตินั้นมีให้เลือกตามความต้องการ ดังนี้
  ที่พักแบบเช่า (Rental Accommodation)
อาจเช่าเป็นบ้านทั้งหลัง หรืออพาร์ตเมนต์ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภทคือ ที่พักแบบมีเฟอร์นิเจอร์พร้อม และที่พักแบบ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ ในการเช่าจะต้องทำสัญญาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี อย่างต่ำสุดคือ 1 เดือน โดยจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน ในการทำสัญญาเจ้าของต้องการจดหมายรับรอง และเงินมัดจำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเท่ากับค่าเช่า1 เดือน
  Homestay หรือที่พักกับครอบครัวชาวนิวซีแลนด์
สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดหาที่พักแบบ Homestay ให้กับนักเรียน นักศึกษาที่มีความประสงค์จะพักกับครอบครัวชาวนิวซีแลนด์ ซึ่งการพักในลักษณะนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของชาวนิวซีแลนด์ และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม พร้อมกับได้ฝึกภาษากับเจ้าของภาษา
  Hostel หรือที่พักในสถาบันการศึกษา
เป็นที่พักที่มีให้เลือกทั้งแบบเดี่ยวและแบบห้องพักรวม ซึ่งนักศึกษา สามารถเลือกลักษณะของห้องพัก ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาในด้านต่างๆ
  แฟลตหรืออพาร์ทเมนท์ (Apartment or Flat)
นักศึกษาที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าที่พัก สามารถพักแบบ
อพาร์ตเมนต์ หรือแฟลต โดยพักรวมกับเพื่อนที่จะมาเช่าอยู่ร่วมกัน ซึ่งที่พักในลักษณะนี้ เหมาะสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ค่าใช้จ่าย พักกับครอบครัว
(Homestay)
หอพัก
(Hostel)
อพาร์ตเมนท์/แฟลต
(Flat)
ค่าที่พัก 600-700
600-650 200-270
ค่าอาหาร 20-60 40-80 150-200
ค่าไฟฟ้า - - 30-50
ค่าโทรศัพท์ในพื้นที่
- - 10-15
ค่ารถ
0-20 0-20 20-80
รวม 620-780 640-750 410-615


TSAB ขอแนะนำ สถาบันและมหาวิทยาลัย

ข้อมูลเรียนต่อต่างประเทศ






Web site engine's code is Copyright © 2002 by PHP-Nuke. All Rights Reserved. PHP-Nuke is Free Software released under the GNU/GPL license.
Page Generation: 0.135 Seconds