Work & Travel USA
username:
password:
Contact US

จันทร์ - ศุกร์
9.00 - 18.00 น

เสาร์
9.00 - 16.30 น

ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS 17,350 Baht
USA 4,620 Baht
UK 10,348 Baht
NZ 5,000 Baht
Canada 4,000 Baht
Related Link
ทุนการศึกษา [OCSC]
ทุนการศึกษา [NSTDA]
ตั๋วนักเรียนราคาประหยัด
ร้านอาหารไทยในต่างแดน
หาที่พักต่างแดน
EXCHANGE RATE
TOFEL
IELTS
GMAT
GRE
สมาชิก
Welcome, Anonymous
Nickname
Password
(Register)
Membership:
Latest: Barnypok
New Today: 0
New Yesterday: 0
Overall: 24955

People Online:
Visitors:
Members:
Total: 0
Counter
Page Counter: 13317
Since: 10 Apr 2005
Exchange Rate




  ข้อมูลทั่วไปของประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom)
  สภาพภูมิประเทศ
  สภาพภูมิอากาศ
  เวลา
  การใช้ชีวิต
  ระบบการศึกษาของประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom)



ข้อมูลทั่วไปของประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ToP
สิ่งที่น่าสนใจ
สถานฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที
1031 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330
โทร : 0-2305-8333
โทรสาร : 0-2254-9579
ประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) หรือที่รู้จักกันดีในนามของประเทศอังกฤษ เป็นดินแดนที่มีภูมิประเทศสวยงาม เป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้าน อุตสาหกรรม การศึกษา
เป็นเมืองประวัติศาสตร์ ศูนย์รวมแห่งวัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่ลงตัว รวมทั้งยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญในด้านต่างๆ อีกด้วย ระบบการปกครองของประเทศอังกฤษ เป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งมีพระบรมราชินีนาถอลิฐาเบธที่ 2 เป็นประมุขของประเทศ
พื้นที่ของประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่เกาะ 2 ส่วนใหญ่ คือ เกาะใหญ่ (Great Britain) ซึ่งหมายถึงเกาะใหญ่ของอังกฤษ ที่รวมอาณาเขตของอังกฤษ (England) เวลส์ (wales) และสก็อตแลนด์ (Scotland) ไว้ด้วยกัน และ เกาะไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) พื้นที่โดยรวมของประเทศประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีเมืองลอนดอน (London) เป็นเมืองหลวงของประเทศสหราชอาณาจักร
ค่าเงินของประเทศสหราชอาณาจักร โดยประมาณ 1GBP = 70 บาท
ภูมิประเทศ ToP
ประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) พื้นที่ของประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่เกาะ 2 ส่วนใหญ่ คือ เกาะใหญ่ (Great Britain) ซึ่งหมายถึงเกาะใหญ่ของอังกฤษ ที่รวมอาณาเขตของอังกฤษ (England) เวลส์ (wales) และสก็อตแลนด์ (Scotland) ไว้ด้วยกัน และ เกาะไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) พื้นที่โดยรวมของประเทศประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีเมืองลอนดอน (London) เป็นเมืองหลวงของประเทศสหราชอาณาจักร

เมืองสำคัญ
เมืองขนาดใหญ่และเป็นเมืองที่มีความสำคัญของสหราชอาณาจักร คือ
- กรุงลอนดอน (London) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหราชอาณาจักร
- เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge)
- เมืองอ๊อกซ์ฟอร์ด(Oxford),
- เมืองแคนเทอร์เบอร์รี่ (Canterbury),
- เมืองบริสโทล (Bristol), เมืองบอร์นมัธ (Bournement)
- เมืองบาธ (Bath)
- เมืองเบอร์มิ่งแฮม (Birmingham)
- เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester)
- เมืองไบร์ทตันและโฮพว์ (Brighton and Hove)
สภาพภูมิอากาศ ToP
ภูมิประเทศของประเทศอังกฤษ เป็นประเทศที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงมาก จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาว มีความชื้นสูง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่น และน้ำเย็นไหลผ่าน ทำให้เกิดหมอกหนาแน่นปกคลุมในบางครั้ง อากาศทางตอนเหนือจะสูงกว่าอากาศทางตอนใต้ และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตก มากกว่าทางภาคตะวันออก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำสุด ในเดือนมกราคม ประมาณ 5 องศาเซลเซียส และสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 18 องศาเซลเซียส
ประเทศอังกฤษ มี 4 ฤดูกาลดังนี้
- ฤดูหนาว (Winter) ธันวาคม - กุมภาพันธ์
- ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) มีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูร้อน (Summer) มิถุนายน - สิงหาคม
- ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) กันยายน - พฤศจิกายน
เวลา ToP
ประเทศอังกฤษเป็นที่ตั้งของเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก (GMT - Greenwich Mean Time) ดังนั้นประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จึงมีเวลาที่เร็วกว่า โดยเร็วกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ปลายเดือนตุลาคม) หรือ 7 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนตุลาคม - ปลายเดือนมีนาคม)
การใช้ชีวิต ToP
เงินตรา
เงินตรา สหราชอาณาจักรใช้สกุลเงิน ปอนด์ (Pound) เป็นหน่วยเงินประจำประเทศ สกุลเงินแบ่งออกเป็นธนบัตรทั้งหมด 4 ชนิด คือ ธนบัตรใบละ 5,10, 20 และ 50 ส่วนเหรียญแบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ 2 และ 1 ปอนด์ และ 50, 20, 10, 5, 2 และ 1 เพนนี
ร้านค้า
ร้านค้าส่วนใหญ่เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.30น. สำหรับบางห้างอาจเปิดให้บริการในวันอาทิตย์ด้วย
ไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศคือระบบ 240 V. AC 50 Hz เหมือนประเทศไทย แตกต่างกันในลักษณะของปลั๊กไฟ ซึ่งจะเป็นปลั๊กไฟฟ้าแบบ 3 ขา
ประปา
น้ำประปาสะอาดสามารถใช้สำหรับดื่มได้
โทรศัพท์
โทรศัพท์สาธารณะมี 2 แบบ คือ แบหยอดเหรียญ และแบบใช้บัตรโทรศัพท์ ซึ่งสามารถซื้อบัตรโทรศัพท์ได้ ที่ทำการไปรษณีย์และร้านค้าที่มีป้าย Phonecard ซึ่งมีราคาตั้งแต่ UKP 2, UKP5, UKP10 และ UKP 20ให้เลือก หากต้องการโทรศัพท์ระหว่างประเทศในราคาถูก ควรสอบถามเพิ่มเติมจากร้านค้า หรือใช้บริการ Swiftcall โดยการขอซื้อรหัสที่เรียกว่า pin ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายหนังสือพิมพ์ทั่วไป

รถไฟ
ระบบขนส่งมวลชนที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ รถไฟ เพราะสะดวก และมีเครือข่ายเส้นทางเดินรถเชื่อมต่อกันกระจายทั่วประเทศ เส้นทางเดินรถไฟสายหลักจะเริ่มจากกรุงลอนดอน และเชื่อมต่อไปถึงเมืองใหญ่ ๆ ทุกแห่ง รวมทั้งเมืองเล็ก ๆ บางแห่ง การให้บริการแม่นยำ ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้การเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางเป็นไปตามเวลานัดหมาย นักเรียนนักศึกษามีสิทธิ์ขอทำบัตร Rail Card ประเภทนักเรียนเพื่อรับส่วนลด
การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ
นักศึกษาต่างชาติควรทำประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุ ในขณะศึกษาที่สหราชอาณาจักร เพราะระบบการรักษาพยาบาลฟรีที่เรียกว่า โครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ NHS (National Health Service) ให้บริการฟรีเฉพาะการตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้น เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ไม่รวมการเจ็บป่วยที่ต้องมีการผ่าตัด นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 6 เดือน และมีความประสงค์ขอใช้บริการรักษาสุขภาพฟรีของ NHS สามารถทำได้ โดยขอให้ทางสถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินเรื่องสมัครให้
ระบบการศึกษาของประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ToP
ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษและเครือจักรภพแบ่ง เป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับ อาชีวศึกษา และระดับปริญญา การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้ง แต่อายุ 5 ปีถึง 16 ปี เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ประมาณ 95% จะเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาล ส่วนผู้ปกครองที่มีฐานะดี และมีรสนิยมสูง มักจะเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน โดยนักเรียนจากประเทศไทย มีสิทธิเรียนในโรงเรียนของเอกชน เท่านั้น
  ระดับประถมศึกษา
รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี การสอนจะเน้นให้เด็กมีทักษะในการเขียนและทักษะทางตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถ ตามความเจริญเติบโตตามวัยของเด็ก
ระดับเตรียมประถม Pre-Preparatory School รับเด็กอายุ 5-7 ปี
ระดับประถม Preparatory School รับเด็กอายุ 8-13 ปี การเรียนระดับนี้จะมุ่งเน้นเตรียมนักเรียนเข้าสอบ Common Entrance Examination (CEE) เพื่อก้าวเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยม
  ระดับมัธยมศึกษา
Public School หมายถึง โรงเรียนมัธยมของเอกชน รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่สอบผ่าน CEE แล้วเข้าศึกษาต่อ โรงเรียนมัธยมเอกชนส่วนมาก เป็นมูลนิธิหรือเป็นสถานประกอบการที่มิได้หวังผลกำไร โดยรายได้ของโรงเรียนมาจากค่าธรรมเนียมการเรียน และเงินบริจาค จึงมีความเป็นอิสระในการ ตัดสินว่าสิ่งใดจะเป็นประโยชน์ทางการสูงสุดแก่นักเรียน โรงเรียนประเภทนี้มีให้เลือกทั้งแบบหญิงล้วน ชายล้วน หรือสหศึกษา ทั้งแบบประจำและไปกลับ มีบางแห่งที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียน ที่มีพรสวรรค์พิเศษเช่น ทางกีฬาและดนตรีด้วย แต่ข้อดีของ การศึกษาในโรงเรียนเอกชนคือ การจัดชั้นเรียนจะเล็กกว่าโรงเรียนรัฐบาล จึงทำให้ครูผู้ ดูแล เอาใจใส่นักเรียนได้อย่างใกล้ชิด
โรงเรียนจะพัฒนานักเรียนแต่ละคนให้สามารถแสดงถึง การมีศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ให้ปรากฏเด่นชัด
เน้นหนักทางด้านงานวิชาการและความมั่นใจในการเข้า วางตัวในสังคม โรงเรียนพร้อมที่จะเป็นผู้นำ ในการพัฒนาสิ่งแปลกใหม่ใน วงการการศึกษา และมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยครูผู้สอนได้รับการคัดเลือกเป็นอย่างดี
สนับสนุนกิจกรรมทางด้านกีฬาหลายประเภท เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฮอคกี้ ว่ายน้ำ พายเรือ ขี่ม้า เรือใบ กอล์ฟ และอื่นๆ เป็นต้น เน้นพัฒนาความสามารถในการรู้จักพึ่งตนเอง การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การประสานงาน และการทำงานโดยพร้อมเพรียงกัน ฝึกให้นักเรียนเป็นผู้รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีวินัย ซื่อสัตย์ และมีระเบียบเคร่งครัดเป็นสำคัญ
ระบบโรงเรียนประจำในอังกฤษ นักเรียนที่มีอายุน้อยจะต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด และจะถูกฝึกฝนให้มีความรับผิดชอบ ในการทำประโยชน์ให้กับหอพัก ส่วนนักเรียนที่มีอายุมากกว่า จะได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้นำด้วยการได้รับสิทธิพิเศษและมีความเป็นอิสระมากขึ้น ในระดับมัธยมศึกษา ทางกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษกำหนดให้มีการสอบวัดผลความรู้และความ สามารถของเด็ก การสอบจะจัดโดยคณะกรรมาธิการอิสระ ซึ่งมี 5 คณะ ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าในระดับ อุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ
  1. GCSE (General Certificate of Secondary Education) การสอบระดับนี้ จะสอบเมื่อเด็กมีอายุ ประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนเลือกสอบประมาณ 8-12 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษา อังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE จนได้รับวุฒิบัตรสามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรสายสามัญ "A" Level ได้หรือหลักสูตรสายวิชาชีพ Advanced GNVQ อีก 2 ปี
  2.
GCE A Level (GCE Advanced) เป็นการสอบวัดผล ความสามารถทางวิชาการของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป วิชาที่สอบมีให้เลือก 50 กว่าวิชา ส่วนใหญ่จะสอบ 2-3 วิชาที่มีความสัมพันธ์กันคือ ทางด้าน Science หรือทางด้าน Humanity ผลการสอบมี 5 ระดับคือ A, B, C, D, E แต่ Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไปบางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B ผลสอบ GCE "A" Level นี้จะเป็นเกณฑ์ที่สถานศึกษาใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยกำหนดดังนี้ แบบ 5 วิชานักเรียนจะต้องมีคะแนนสอบ GCSE 3 วิชา และ GCE "A" Level 2 วิชา แบบ 4 วิชานักเรียนจะต้องมีคะแนนสอบ GCSE 1 วิชา และ GCE "A" Level 3 วิชา การสอบ GCSE, GCE "A" Level จะสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
  ระดับอาชีวะศึกษา
เป็นการศึกษาที่จัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีไปแล้ว ไม่ประสงค์จะศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการจะมีคุณวุฒิ ทางวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบสายอาชีพ นอกจากนี้ยังเปิดสอนวิชาสามัญคือ GCSE และ GCE "A" Level สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษา มีทั้งของรัฐบาลและเอกชน
  1. สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล มีประมาณ 500 กว่าแห่ง หลักสูตรที่จัดสอนได้แก่ วิชาบริหารธุรกิจ การโรงแรม วิศวกรรม- ศาสตร์ ช่างเทคนิค การเกษตร ฯลฯ สถาบันการศึกษาของ รัฐบาล ได้แก่
- College of Further Education
- College of Education
- Technical College
- College of Technology
- College of Art
- College of Commerce
- Agricultural College
ในอังกฤษและเวลส์ การศึกษาระดับอาชีวะจะได้วุฒิบัตร จาก Business and Technician Education Council (BTEC) ส่วนในสก๊อตแลนด์ได้วุฒิบัตรจาก Scottish Vocational Education Council (SCOTVEC) แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
  - First Certificate/Diploma (FC/FD)
เป็นการศึกษาในระดับที่ต้องการจะช่วยเหลือ ผู้ที่จบการศึกษา จากโรงเรียน (อายุเกิน 16 ปี) โดยได้รับประกาศนียบัตร GCSE เพียงไม่กี่วิชาหรือไม่ได้รับเลย ซึ่งต้องการจะหางานทำในสายวิชาชีพต่างๆ หลักสูตรการศึกษา 1 ปี เมื่อจบแล้วสามารถเรียนต่อในระดับสูงขึ้นได้อีก
  - National Certificate/Diploma (NC/ND)
เป็นการศึกษาในสายวิชาชีพที่มีคุณวุฒิสูงขึ้นจาก FC/FD ใช้เวลาเรียน 2 ปี โดยรับผู้มีคุณวุฒิ FC/FD หรือประกาศนียบัตร GCSE อย่างน้อย 4 วิชา ผู้ที่จบระดับ NC/ND นี้ นอกจากมีวุฒิบัตรวิชาชีพแล้ว ยังเทียบได้เท่ากับ GCE "A" level ด้วย ซึ่งหากได้คะแนนดีมาก สามารถสมัครเรียนระดับปริญญาตรีได้
  - Higher National Certificate Diploma (HNC/HND)
เป็นการศึกษาในระดับสูงสุดของระดับอาชีวศึกษา หลักสูตร 2 ปี ซึ่งถือว่าระดับนี้เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ด้วยเช่นกัน รับผู้ที่จบการศึกษา NC/ND หรือ ผู้มีคุณวุฒิ GCSE 3 วิชา + GCE "A" level 1 วิชา ผู้ที่จบหลักสูตรนี้ถือว่า ได้มีคุณวุฒิสูงกว่าอนุปริญญาของไทย แต่ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 ชั้น นอกจากนี้ หากประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีก็สามารถทำได้ โดยใช้เวลาศึกษาอีก 2 ปี แต่ทั้งนี้ผลการเรียนต้องดีเด่น
  2. สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน ส่วนใหญ่มอบเพียง ประกาศนียบัตร ดังนั้นสำหรับสถานศึกษาเอกชนจึงควรเลือก สถานศึกษาที่ได้รับรองวิทยฐานะจาก The British Accredition Council for Further and Higher Education (BAC) ซึ่งเป็น หลักประกันว่ามีมาตรฐานการเรียนการสอนที่เชื่อถือได้สถาบัน อาชีวศึกษาของเอกชน ได้แก่

  - Tutorial College
เป็นสถานศึกษาที่เรียนเน้นหนักเฉพาะวิชาที่สอบ GCSE และ GEC "A" level ลักษณะของโรงเรียน เป็นทำนองเดียวกับโรงเรียนกวดวิชาของไทย โดยสอนนักเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล ห้องเรียนจำกัดนักเรียน ดังนั้นนักเรียนจะมีโอกาสใกล้ชิดกับครู สามารถซักถามข้อสงสัย เป็นการส่วนตัวจากครู และไม่ต้องเสียเวลาเรียนวิชาอื่น ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย โดยปกติใช้เวลาเรียน 2 ปี ก็สามารถสอบ GCSE และ GCE "A" level ได้ นอกจากนี้สถานศึกษาบางแห่ง อาจมีหลักสูตรภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ เลขานุการ
  - College หรือ College of Higher Education
เป็นสถาบันการศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ เช่น บริหารธุรกิจ บัญชี คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งให้คุณวุฒิประกาศนียบัตร BTEC First หรือ National หรือ Higher National Diploma (FD/ND/HND)
  - Secretarial College
สอนวิชาเลขานุการ พิมพ์ดีด ธุรกิจ ชวเลข และงานทั่วไปเกี่ยวกับสำนักงาน เพื่อรับประกาศนียบัตรของโรงเรียนเอง หรือของ Pitman หรือ London Chamber of Commerce หลักสูตรทั่วไปใช้เวลา 1 ปี บางแห่งมีหลักสูตรเร่งรัดใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี หรือ 2 ปี รัฐบาลอังกฤษไม่มีระบบรับรองวิทยฐานะของสถานศึกษาเหล่านี้ แต่ทางสถานศึกษาก็พยายามจัดหลักสูตรการสอน เพื่อให้นักเรียนไปสอบประกาศนียบัตรของสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ
  ระดับอุดมศึกษา
ได้แก่การศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรมีประมาณกว่า 100 แห่ง เป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียว (Polytechnic ในสหราชอาณาจักรขณะนี้ ได้ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทั้งหมดแล้ว ซึ่งรวมอยู่ใน 80 แห่งดังกล่าวแล้ว) สำหรับ College of Higher Education มีประมาณ 243 แห่ง หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น
  1. ปริญญาตรี
  - BTEC HNC/HND หรือ Diploma of Higher Education (Dip.HE)
หลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่เปิดสอนใน College of Higher Education และอาจมีในมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับจากผู้ที่สอบ "A" Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma วิธีการสมัคร ต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับปริญญาตรี
  - First Degree (Bachelors Degree)
หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขาเช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)ปริญญาที่ให้ได้แก่ Bachelor of Arts (BA), Bachelor of Sciences (B.Sc), Bachelor of Education (B.Ed.), Bachelor of Engineering (B.Eng.)
การสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
  - General Requirement (คุณสมบัติทั่วไป)
คือ ได้รับ ประกาศนียบัตร GCSE และ GCE "A" Level ในรูปแบบใด แบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ แบบ 5 วิชา GCSE 3 วิชา + "A" level 2 วิชา แบบ 4 วิชา GCSE 1 วิชา + "A" level 3 วิชา
  - Course Requirement
เป็นการกำหนดคุณสมบัติให้แคบลง สำหรับผู้จะสมัครในสาขาวิชาต่างๆ เช่น จะสมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จะกำหนดว่าจะต้องสอบ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และ GCSE วิชาภาษาอังกฤษในการสมัครเข้าศึกษาวิชาเดียวกัน แต่ต่างมหาวิทยาลัย ก็อาจจะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกัน
  - อายุของผู้สมัคร
ในบางสถาบันจะกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร โดยปกติจะกำหนดไว้อย่างต่ำ 17 ปี บางแห่งอาจกำหนด 18 ปี
  2. สูงกว่าปริญญาตร
การศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรีมี 3 ระดับ
  - Post - Graduate Certificate Diploma
หลักสูตร 9 เดือน ถึง 1 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรี
  - Master Degree
หลักสูตร 1-2 ปี รับผู้สำเร็จ ปริญญาตรี ทีมีผลการเรียนดี ปริญญาที่ให้ได้แก่ M.Sc., M.A., M.BA., M.Phil (มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งรับปริญญาตรี เกียรตินิยม)
  - Doctoral Degree
หลักสูตรการทำวิจัยใช้เวลา 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Doctor of Philosophy (Ph.D./D.Phil) มหาวิทยาลัยส่วนมากรับผู้ผ่านการศึกษาหลักสูตร M.Phil
การสมัครระดับ Post-Graduate Course
ระดับนี้นักศึกษาต้องสมัครโดยตรงไปยังมหาวิทยาลัยที่สนใจ ซึ่งปกติ จะเปิดรับสมัครเพียงปีละ 1 ครั้ง และไม่มีกำหนดวันเปิดรับสมัคร ยิ่งสมัครเร็วเท่าใด ก็จะมีโอกาสได้รับการตอบรับมากขึ้น จึงควรสมัครล่วงหน้า ก่อนเปิดภาคเรียน (เดือน ตุลาคมของทุกปี) ประมาณ 6-12 เดือน

เอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร
1. Transcript
2. ผลสอบ IELTS 6.0 - 6.5 หรือ TOEFL 500 - 550 หรือ Cambridge Proficiency
3. Letter of Recommendation จากอาจารย์ 2 ท่าน
4. Bank Statement ของผู้ปกครอง
5. เรียงความประวัติส่วนตัว และโครงการอาชีพในอนาคต ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงาน
6. สำหรับสาขา MBA สถานศึกษาบางแห่งต้องการ GMAT และประสบการณ์ในการทำงาน

ปีการศึกษา
ภาคการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับในประเทศอังกฤษ เริ่มต้นภาคแรกในราวปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือน ตุลาคมของปีหนึ่ง และสิ้นสุดราวปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคมของปีถัดไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
- ภาคต้น Autumn Term ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึงกลางเดือนธันวาคม
- ภาคกลาง Spring Term ตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ถึงปลายเดือนมีนาคม
- ภาคปลาย Summer Term ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม
สำหรับการรับนักศึกษาใหม่ของสถาบันการศึกษาของรัฐ ในทุกระดับนั้นจะรับเฉพาะในภาคต้น (Autumn Term) เท่านั้น ยกเว้นในหลักสูตรสูงกว่าปริญญาตรี ถ้าเป็นหลักสูตรที่ศึกษาโดยการทำการวิจัย (by research) ก็อาจรับเข้าศึกษาในภาคการศึกษาอื่นๆ ได้ด้วย

ค่าครองชีพ
อัตราค่าครองชีพของแต่ละเมือง ย่อมมีความแตกต่างกันไป ทั้งยังขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้จ่าย การใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วย โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน จะตกอยู่ในช่วง ?550 - ?700

ค่าเล่าเรียน
ระดับ ค่าเล่าเรียนต่อปี(US$)
หลักสูตรภาษาอังกฤษ 3,500-5,000
มัธยมศึกษา 5,000-12,000
หลักสูตรอาชีวศึกษา และฝึกอบรม 3,500-6,300
หลักสูตรปีพื้นฐาน 5,000-8,600
หลักสูตรปริญญาตรี 5,000-8,600
หลักสูตรสูงกว่าปริญญาตรี 5,500-13,500

ที่พักอาศัย
โดยทั่วไป สถานศึกษาให้คำแนะนำเรื่องที่พัก หรือช่วยดำเนินการจัดหาที่พักให้นักเรียนต่างชาติ ดังนั้น ควรเลือกที่พักที่เหมาะกับความต้องการของตนเองให้มากที่สุด ลักษณะของที่พักมีหลายประเภทให้เลือก
  Family
การพักกับครอบครัวชาวอังกฤษเหมาะสำหรับนักเรียนที่มีอายุน้อย เพราะนักเรียนต้องทำตัวเสมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว นักเรียนจะมีห้องพักเป็นของตนเอง แต่ใช้ห้องน้ำรวมกับสมาชิกในครอบครัว และต้องการคนดูแลบ้าน จัดซักเสื้อผ้าให้ นักเรียนจะรับประทานอาหารมื้อเย็นพร้อมเจ้าของบ้าน ทำให้มีโอกาสได้ฝึกฝนภาษา และเรียนรู้วัฒนธรรมในครอบครัวแบบอังกฤษ แต่ละครอบครัวจะมีกฎข้อบังคับ ซึ่งนักเรียนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น การพาเพื่อนมาที่บ้าน กลับบ้านให้ทันเวลาอาหารเย็น ถ้าไม่ทันต้องโทรมาแจ้งล่วงหน้า หรือการไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น
  Lodging
นักเรียนจะมีห้องพักเป็นส่วนตัว ค่อนข้างอิสระ ลักษณะเหมือนห้องแบ่งเช่า นักเรียนต้องจัดหาอาหารรับประทานอาหารเอง หรืออาจรับประทานร่วมกับเจ้าของบ้าน แล้วแต่จะตกลงกัน
  หอพัก
หอพักในมหาวิทยาลัยเลือกได้ 2 แบบ คือ ห้องเดี่ยว และ ห้องคู่ มี 2 ประเภท คือ หอพักแบบพร้อมอาหาร หรือ แบบปรุงอาหารทานเอง โดยภายในหอพักจะมีตู้เย็น และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปรุงอาหาร ให้นักศึกษาสามารถปรุงอาหารรับประทานเองได้ โดยใช้ร่วมกันกับเพื่อนที่พักในชั้นเดียวกัน ลักษณะห้องนอนจะมีเตียง โต๊ะเขียนหนังสือ และตู้ใส่เสื้อผ้า ส่วนห้องน้ำเป็นห้องน้ำรวม และทุกชั้นจะมีห้อง Common Room หรือห้องนั่งเล่น และมีสิ่งอำนวยความสะดวก


TSAB ขอแนะนำ สถาบันและมหาวิทยาลัย

ข้อมูลเรียนต่อต่างประเทศ






Web site engine's code is Copyright © 2002 by PHP-Nuke. All Rights Reserved. PHP-Nuke is Free Software released under the GNU/GPL license.
Page Generation: 0.172 Seconds